Welcome to Weddinginlove Newsletter : ISSUE 22 , October 16 ,2011

ติดตามอ่าน Weddinginlove Newsletter ฉบับอื่นๆได้ที่นี่!!

ติดตามอ่าน Weddinginlove Newsletter ฉบับอื่นๆได้ที่นี่!!
Issue 22 / October 16, 2011

สวัสดีค่ะ Weddinginlove Newsletter กลับมาพร้อมกับกำลังใจให้พี่น้องชาวไทยที่กำลังประสบกับอุทกภัยในครั้งนี้ด้วยนะคะ ส่วนข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการแต่งงานที่น่าสนใจในรอบนี้ก็คือ ข่าวการอภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดี กับพระคู่หมั้น เจตซัน เปมา ที่คนไทยให้ความสนใจ โดยเฉพาะสาวไทยที่ชื่นชมพระจริยวัตรอันงดงามของพระองค์เมื่อครั้งเสด็จมาเยือนประเทศไทย แต่จะให้รายงานเฉพาะพระราชพิธีก็ดูจะธรรมดาไป เราเลยจะตามรอยประเพณีการแต่งงานของชาวภูฏาน ประเทศในดินแดนของเทือกเขาหิมาลัยมาฝากกันค่ะ


แม้ว่าพระราชพิธีอภิเษกของกษัตริย์จิกมี และพระคู่หมั่น เจตซัน เปมา ที่จัดขึ้นภายในเมืองพูนาคา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมาจะไม่ได้เป็นข่าวครึกโครมใหญ่โตไปทั่วโลกเช่นราชวงศ์ประเททศอื่นๆ แต่ก็ยังความปลาบปลื้มและสร้างความประทับใจให้แก่ประชาชนชาวภูฏานไม่น้อย อีกทั้งข่าวการอภิเษกครั้งนี้ยังได้รับความสนใจจากชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาวไทยหลายๆ คน ที่เคยประทับใจกับพระจริยวัตรอันงดงามเมื่อครั้งมาเยือนประเทศไทย และประโยคเด็ดที่ว่า
สำหรับพระราชพิธีอภิเษกสมรสนั้นจัดขั้นอย่างเรียบง่าย แต่ถูกต้องตามโบราณราชประเพณีแห่งภูฏาน พร้อมกันนี้ได้ททรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา น.ส. เจตสัน เปมา ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีภูฏาน จากนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีและสมเด็จพระราชินีได้เดินจูงพระหัตถ์เข้าไปบนแท่นสักการะอันศักดิ์สิทธิ์ภายในป้อมพูนาคา ซึ่งเป็นที่ตั้งพระศพขององค์กษัตริย์ผู้ก่อตั้งภูฏานเมื่อศตวรรษที่ 17 เพื่อทรงรับพรและประกอบพิธีสวดมนต์ตามคติทางพุทธศาสนา โดยมีพระบิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ผู้เป็นพระราชาธิบดีองค์ก่อน เสด็จพร้อมด้วยพระชายาทั้ง 4 พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการระดับสูง ร่วมเป็นสักขีพยาน ในโอกาสครั้งพิเศษครั้งนี้ รัฐบาลภูฏานได้จัดให้มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธี
อภิเษกสมรสไปทั่วประเทศ เพื่อให้พสกนิกรกว่า 700,000 คนได้ซึมซับบรรยากาศอันน่าประทับใจกันโดยถ้วนหน้า และได้จัดพิธีเฉลิมฉลองอีก 3 วัน โดยเฉพาะในวันที่ 15 ตุลาคม จะมีการจัดงานรื่นเริงตามเมืองและหมู่บ้านต่างๆ ทั่วภูฏาน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ที่อยู่อาศัยตามภูเขาสูงหลังจากนี้ก็มีการจัดงานรื่นเริงตามเมืองและหมู่บ้านต่างๆ ทั่วภูฏานด้วย
แม้ว่าประเทศภูฏานเป็นประเทศที่เพิ่งแยกตัวออกมาจากประเทศทิเบตได้ไม่นานนัก แต่ก็เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมประเพณีที่ชาวเมืองยังคงรักษาไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ที่ประเทศแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการแต่งงาน
คนภูฏานมีสายสัมพันธ์ทางครอบครัวค่อนข้างลึกซึ้ง และซับซ้อนมาก การแต่งงานของชาวภูฏานตั้งแต่ดั้งเดิม ผู้ชายจะสามารถมีภรรยาหลายคนได้ และผู้หญิงก็สามารถมีสามีได้หลายคนเช่นกัน ไม่มีการแบ่งแยกว่าใครเป็นหลวง ไม่ถือว่าเป็นการนอกใจ ซึ่งภรรยาหรือสามีทุกคนล้วนต้องมาจากการแต่งงาน และต้องเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ดังเช่นเช่นพระราชบิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ก็มีพระราชินีถึง 4 พระองค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นพี่น้องกันทั้งสิ้น โดยกษัตริย์จิกมีทรงประสูติจากพระราชินีองค์ที่ 3 คือสมเด็จพระราชินีเชอร์ริง ยังดน วังชุก แต่เป็นพระราชโอรสพระองค์แรก จึงได้เป็นผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา โดยที่กษัตริย์จิกมีก็ทรงเรียกพระราชินีทุกพระองค์ว่าแม่เช่นเดียวกันหมด
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า สมัยก่อนชาวภูฏานมีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างลำบาก ทำให้ต้องแต่งงานอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ และการมีภรรยาหรือสามีหลายคนเพื่อจะได้ช่วยกันทำมาหากิน และไม่ถือว่าผิดศีลเพราะไม่ได้ไปผิดลูกเมียคนอื่น และคนภูฏานจะอยู่รวมกันโดยไม่มีการแยกบ้าน ส่วนใหญ่เวลาที่ผู้ชายแต่งงานก็จะแต่งทั้งพี่และน้องไปพร้อมกันเลย เพราะที่ประเทศภูฏานทั้งผู้หญิงและผู้ชายต้องทำงานเหมือนกันทุกคน อาชีพส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพเกษตรกรรม โดยผู้หญิงมักจะมีหน้าที่ทำไร่ ปลูกผัก ส่วนผู้ชายจะทำงานในส่วนที่หนักกว่า หรือต้องออกไปในทำงานในที่ที่ไกลมากกว่า เช่นการคุมฝูงจามรีไปเลี้ยงบนภูเขา หรือการออกไปขายของหรือแลกสินค้ากับเผ่าอื่น
สินสอดของชาวภูฏานจะมีลักษณะคล้ายของกำนัลมาแลกกันมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของสินค้าทางการเกษตร หรือถ้าฝ่ายไหนมีฐานะดีกว่าก็จะให้ที่นาเพื่อช่วยเพิ่มที่ทำมาหากิน เพราะภูฏานเป็นประเทศภูเขา ที่ดินมันมีให้ทำไร่น้อย ซึ่งสินทรัพย์ที่ดิน สินสอดมอบวันแต่งงาน ส่วนพิธีการแต่งงานนั้นนิยมมีการฉลองด้วยการเต้นระบำพื้นเมือง และระบำหน้ากาก
ชุดแต่งงานของชาวภูฏานก็คือ ชุดประจำชาติที่นิยมใส่กันทุกโอกาส และใส่อยยู่ประจำวัน ชุดประจำชาติของผู้ชายจะเรียกว่าโก (Kho) ส่วนของผู้หญิงเรียกว่าคีร่า (Kira) โดยชุดประจำชาติของชาวภูฏานก็จะมีการแบ่งระดับและมีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างของผู้ชายและผู้หญิง และสำหรับฉลองพระองค์ที่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีจะใส่ในวันพระราชพิธีอภิเษกก็เป็นชุดประจำชาติ โดยชุดของพระองค์จะมีแกบเน (ผ้าพาดไหล่)
สีเหลืองอมส้ม ซึ่งเป็นสีที่ใช้สำหรับกษัตริย์ด้วยประดับอยู่ด้วย

ในช่วงวัยหนุ่มสาวของชาวภูฏานนั้นจะไม่มีงานพิธีสำคัญจนกว่าจะถึงพิธีแต่งงาน ซึ่งการแต่งงานของชาวภูฏานถ้าไม่เป็นงานใหญ่ที่มีพิธีรีตรองต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ก็อาจไม่มีการจัดพิธีใดๆ เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคมของครอบครัวและคู่บ่าวสาวว่ารู้จักกันด้วยวิธีใด ถ้าเป็นการแต่งงานตามความต้องการของผู้ใหญ่ พ่อแม่จะสอบถามความสมัครใจของลูกว่ายินดีที่จะแต่งงานหรือไม่ ถ้าลูกไม่ยินดีก็สามารถปฏิเสธได้ ส่วนการแต่งงานที่มาจากการรักชอบพอกันเอง ความเห็นชอบของพ่อแม่ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญอยู่ และถ้าคู่บ่าวสาวมีฐานะดี การแต่งงานก็จะถูกจัดอย่างใหญ่โต เมื่อถึงฤกษ์ดีที่โหราจารย์ให้มา เจ้าบ่าวจะยกขบวนไปรับเจ้าสาวจากบ้านของเจ้าสาวเอง แล้วพากลับไปที่บ้านของเจ้าบ่าว ที่หน้าบ้านจะ
มีสมาชิกในครอบครัวสองคนถือชามใส่นมและน้ำเป็นสัญลักษณ์แทน ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตของคู่สมรส เสร็จจากพิธีมาชังแล้ว คู่บ่าวสาวจะออกไปนั่งฟังพระสวด อันเป็นพิธีสงฆ์ของทางพุทธ จากนั้นคู่บ่าวสาวจะดื่มสุราประกาศความเป็นสามีภรรยากัน ญาติมิตร จะนำกับเนะสีขาวมาคล้องและนำของขวัญมามอบให้ ส่วนใหญ่เป็นผ้าจำนวนสาม ห้า หรือเจ็ดผืน มีการกินเลี้ยง ดื่มสุราและเต้นรำกันอย่างสนุกสนานจนถึงค่ำ ถ้าเป็นครอบครัวคู่บ่าวสาวที่มีฐานะไม่ดี หนุ่มสาวจะย้ายมาอยู่ด้วยกันเฉยๆ ปัจจุบัน ทางการภูฏานส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ตามชนบทจะไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้มากนัก
แหม...เห็นอย่างนี้แล้ว รู้สึกประทับใจกับความรักและการรักษาวัฒนธรรมและประเพณีประจำชาติเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นของคนประเทศนี้ซะจริงๆ
 
All site contents copyright © www.weddinginlove.com.
 

ติดตามอ่าน Weddinginlove Newsletter ฉบับอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ค่ะๆ
ติดตามอ่าน Weddinginlove Newsletter ฉบับอื่นๆ ได้ที่นี่ค่ะๆๆๆๆ

Copyright©2009 www.weddinginlove.com. All Right Reserved. Email: info@weddinginlove.com