เรื่องของ "สินสอด"
HIGHLIGHTS:
-
สินสอดเป็นเรื่องที่มากกว่าคนสองคนที่รักกัน มีคู่รักจำนวนมากที่ต้องเลิกราเพราะปัญหานี้ รวมถึงดาราคนดังที่เป็นข่าวครึกโครม
-
นักเศรษฐศาสตร์มองว่าการเปลี่ยนไปหมั้นหมายกับคนที่ยินดีจ่ายสินสอดอย่างที่ต้องการอาจจะสมเหตุสมผล แต่ไม่สอดคล้องกับจารีต บางส่วนเห็นว่าไม่ควรมีการแทรกแซงความรักจากพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย
-
นักการตลาดมองสินสอดไม่ใช่แค่ราคาขาย แต่เป็นคุณค่าที่อีกฝ่ายรับรู้ สินสอดมีต้นทุนมากกว่าตัวเงินที่เรามองเห็น
เครดิตรูปภาพจาก Mutae Studio
เมื่อค้นคำว่า ‘สินสอด’ ในเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถาน จะให้ความหมายว่า เงินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหญิงที่จะแต่งงานเป็นค่านํ้านม ข้าวป้อน ซึ่งเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปในทางกฎหมายคือ ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส สมัยโบราณคำนี้หมายถึงสินบนด้วยซ้ำ
ถ้ายึดตามตำราแบบนี้ก็คงพอเข้าใจได้ว่าสินสอดเป็นเงินที่ฝ่ายชายมอบให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงก็เท่านั้น แต่ในโลกนอกตำรากลับพบว่ามันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น มีคู่รักหลายรายที่เลิกรากันไปเพราะเรื่องนี้ และ การแต่งงานเป็นเรื่องที่มากกว่าคนสองคนเสมอ
เศรษฐศาสตร์ ความรัก และสินสอด
ทุกคนต่างเคยได้ยินเรื่องอุปสงค์ อุปทาน และหลักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์มาบ้าง สิ่งที่ถือเป็นหัวใจสำคัญประเด็นหนึ่งคือ จุดดุลยภาพ (Equilibrium Point) ซึ่งถ้าสรุปให้เข้าใจง่ายคือ จุดที่ความต้องการเสนอซื้อเท่ากับความต้องการเสนอขายที่ระดับราคาหนึ่งๆ เรื่องสินสอดก็หนีไม่พ้นหลักการนี้
เมื่อปี 2549 การศึกษาของ ภศุ ร่วมความคิด เรื่อง ‘ถ้าฉันจะแต่งงาน ควรจะได้รับ/จ่ายสินสอดเท่าไร’ ซึ่งมองเรื่องของสินสอดนี้ได้ดีในมุมของนักเศรษฐศาสตร์และถูกเผยแพร่ไปทั่ว สิ่งที่น่าสนใจจากการศึกษาคือ สินสอดเป็นราคาในทางเศรษฐศาสตร์ ไม่มีการซื้อขายผ่านตลาด ต้องผ่านกระบวนการเจรจาต่อรองสู่ราคาที่ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจหรือราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price)
ผลการศึกษาของภศุพบว่า คุณลักษณะของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่มีผลต่อมูลค่าสินสอด ได้แก่ ระดับรายได้ ระดับการศึกษา การมีภาระรับผิดชอบต่อครอบครัว และการแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว ขณะที่ทรัพย์สินมีผลน้อยมาก และภาระความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการแต่งงานและอาชีพไม่มีผลต่อมูลค่าสินสอด
ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียกค่าสินสอด
เครดิตรูภาพจาก Thestandard.co
คำนวณค่าสินสอดตัวเองดีกว่า
เมื่อการแต่งงานไม่ใช่เรื่องของความรักเสมอไป เมื่องานแต่งงานไม่ใช่ประเด็นเฉพาะคนสองคน วิถีแห่งการคำนวณค่าสินสอดจึงเกิดขึ้น
หนึ่งในประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันมานานในสังคม และดูจะเป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับหนุ่มสาวมานานหลายยุคหลายสมัยก็คือ ‘สินสอด’ นั่นแหละครับ คงไม่ต้องอธิบายให้มากกับคำว่าสินสอดคืออะไรกัน โดยปัญหาหลักที่เกิดจากเรื่องนี้ก็คือ ‘การคำนวณ’ และมีหลายคู่ที่ต้องเลิกรากันเพราะตกลงกันไม่ลงตัว เรามาดูกันกว่าครับว่ามีวิธีคำนวณอย่างไรกันบ้าง
เครดิตรูปภาพจาก Fin Street
ได้เท่าไหร่เอามาแชร์กัน!
เครดิตรูปภาพจาก Fin Street
หากสงสัยว่าตัวเลขหรือปัจจัยต่างๆ ที่เอามาคำนวณดูจากอะไร ก็มาจากผลการสำรวจนั่นแหละครับ โดยผลการสำรวจระบุว่าปัจจัยที่ปกติแต่ละครอบครัวจะเอามาคำนวณเรื่องสินสอดก็คือ รายได้ การศึกษา ภาระต่อครอบครัว และลำดับการแต่งงาน
ส่วนจำนวนตัวเลขหลักที่ตั้งอยู่เป็นค่าเริ่มต้นนั้นมาจาก เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้น 1 บาทสินสอดจะเพิ่มขึ้น 2.2205 และถ้าอายุสูงขึ้น 1 ปี มูลค่าจะเพิ่มปีละ 8,986.92 บาท แถมถ้าเป็นคนกรุง ก็มีผลอีกด้วย
โดยประเด็นที่น่าสนใจก็คือเงินเก็บหรือทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่ได้มีผลในการคำนวณแต่อย่างใด จริงๆ แล้วค่าเฉลี่ยที่ใส่ลงไปควรจะเป็นค่าเฉลี่ยของทั้งบ่าวสาว แต่ถ้าตอนนี้อยู่ตัวคนเดียวเอาของตัวเองไปคำนวณก่อนก็ได้ครับ
ส่วนใครอยากได้ข้อมูลเชิงลึก ผลการสำรวจ กราฟการคำนวณต่างๆ ก็สามารถไปติดตามได้ที่ Setthasat (https://goo.gl/AiWV59)
และทีสำคัญขอบคุณเนื้อหาดีๆ จาก วิทยานิพนธ์ หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ของคุณ ภศุ รวมความคิด ในหัวข้อ “ถ้าฉันจะแต่งงาน ควรจะได้รับ/จ่ายสินสอดเท่าไร” ด้วยครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : thestandard.co / BrandThink / http://setthasat.com / Fin Street /