Top
^
แต่งงาน > แต่งงาน Wedding > รู้ทันกฏหมาย(รัก)ก่อนแต่งงาน : ขอความยินยอม
 

รู้ทันกฏหมาย(รัก)ก่อนแต่งงาน : ขอความยินยอม

โพส :: [ 01 พฤศจิกายน 2554 ] | จำนวนคนอ่าน 5002 คน
เรียบเรียงโดย : www.readyviva.com

อยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา มีอะไรก็ค่อยพูดค่อยจากัน ส่วนใหญ่ภรรยาจะพูดมากกว่าสามี เราจึงมักเห็นชายไทยมีอาการสุขุมนุ่มลึกไม่ค่อยเจรจาหลังแต่งงาน อาการนี้ได้กลายเป็นเหตุผลหนึ่งที่สามีใช้อ้างเมื่อภรรยากล่าวหาว่า ทำไมไม่บอก วันนี้เรานำ เรื่องรู้ทันกฏหมาย(รัก)ก่อนแต่งงานในหัวข้อ ขอความยินยอม มาฝากค่ะ

รู้ทันกฏหมาย(รัก)ก่อนแต่งงาน : ขอความยินยอม

อยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา มีอะไรก็ค่อยพูดค่อยจากัน ส่วนใหญ่ภรรยาจะพูดมากกว่าสามี เราจึงมักเห็นชายไทยมีอาการสุขุมนุ่มลึกไม่ค่อยเจรจาหลังแต่งงาน อาการนี้ได้กลายเป็นเหตุผลหนึ่งที่สามีใช้อ้างเมื่อภรรยากล่าวหาว่า ทำไมไม่บอก
         

         การจัดการสินสมรสบางอย่าง กฎหมายกำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นต้นว่าการขาย จำนอง หรือทำประการใดๆเกี่ยวกับที่ดินที่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการให้เช่าเกินกว่า 3 ปี การให้เขาอาศัยในบ้าน หรือไปมีเรื่องมีราวแล้วทำสัญญาประนึประนอม หรือนำหลักทรัพย์ไปเป็นประกัน หรือกลักประกันกับตำรวจหรือศาล รวมทั้งการให้คนกู้ยืมเงิน จะต้องขอความยินยอมจากคู่สมรสเสียก่อน ที่สำคัญ การจะยกข้าวของเงินทองให้ใครก็ต้องยินยอมเช่นกัน เว้นเสียแต่เป็นการให้ตามฐานะนุรูปเพื่อการกุศลหรือการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา เช่น บริจาคช่วยน้ำท่วม ซื้อบัตร ฟังปาฐกาถาในงานดินเนอร์ ให้ของขวัญงานแต่ง
         

         ยกตัวอย่างเช่น ประวิทย์ไปซื้อคอนโดให้สาวอื่นอยู่ ความมาแตกเมื่อ "ดาว" ภรรยาของเขาจับได้ แต่สามีก็หัวไวไหวตัว โดยบอกว่าไม่ได้มีอะไรกับหญิงคนนั้น คอนโดหลังนี้ "สิริมา" ต้องการซื้อแต่ไม่มีเงินจึงขอยืมเขา เห็นเป็นเพื่อนเก่าของภรรยาก็เลยใจอ่อนยอมให้ยืมเงิน แล้วช่วยติดต่อดูแลการเซ็นสัญญาเท่านั้น ผู้รู้กฎหมายอย่างดาว ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายคอนโดทันทีแม้การซื้อคอนโดนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องความยินยอม เพราะไม่ใช่การขาย แต่ซื้อแล้วเอาไปให้สิริมานี่ต่างหากที่ไม่ถูกต้อง จะอ้างว่าให้ยืมเงินก็ยิ่งเข้าล็อกของกฎหมายไปอีก เพราะการให้ใครกู้ยืมเงินต้องขอความยินยอมอยู่ดี งานนี้ ประวิทิย์เองยังปากแข็งว่าไม่ได้ปดภรรยา ถ้าจะพลาดก็เพราะพลั้งเผลอโดยสุจริตเท่านั้น
         

         การขอความยินยอมนั้น ไม่ต้องถึงกับขออนุมัติเป็นทางการ เพียงบอกแล้วเขาไม่โต้แย้งคัดค้านก็ใช้ได้ เว้นแต่เป็นเรื่องที่ต้องมีขั้นตอนตามกฎหมาย เช่น จะจำนองที่ดินต้องจดทะเบียนจำนองที่สำนักงานที่ดิน เจ้าหน้าที่ก็ต้องให้คู่สมรสจัดการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
         

         บางรายไม่ได้ยินได้ยอม แต่มารู้ทีหลังก็ไม่ว่ากระไร กฎหมายถือเป็นการให้สัตยาบัน คือรับรอง การที่ได้ทำไปโดยปราศจากความยินยอมในตอนต้น อย่างนี้จะมาโวยทีหลังแล้วขอเพิกถอนไม่ได้ เช่น สามีให้เพื่อนยืมเงินไปสองแสน มีกำหนดหนึ่งปี ทำสัญญากันไว้ดิบดี ตกลงให้เพื่อนชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน วันหนึ่งเพื่อนก็เอาเช็คค่าดอกเบี้ยมาให้ที่บ้าน พบภรรยาเลยให้เซ็นรับไว้ภรรยาก็ไม่ว่าอย่างไร เพราะถือว่าภรรยาได้ให้สัตยาบันการกู้ยืมนี้แล้ว จะมาอ้างเพิกถอนทีหลังไม่ได้
         

         ตามปกติ เราไม่มีวันรู้ว่าสามีภรรยาเขาเออออห่อหมกยินยอมกันจริงไหม วันดีคืนดี สามีเอาภรรยามาร้องเพิกถอน คนนอกก็เสียหายได้ กฎหมายจึงป้องการการฮัวไว้ว่า ถ้าคนที่ได้รับผลจากการทำนิติกรรมนั้นๆ ได้ทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแล้ว ก็เพิกถอนไม่ได้เช่นกัน สามีภรรยาได้แต่ไปจัดการเอาเรื่องกันเอง
         

         กรณีแบบนี้มักเกิดกับการซื้อขายที่ดินที่ไปใส่ชื่อสามีเพียงคนเดียวไว้ เพื่อให้จัดการได้คล่องแคล่ว ต่อมาสามีไปแอบบขายที่ดินโดยไม่บอกภรรยามารู้ทีหลังจะจัดการเพิกถอนเอาที่ดินคืนไม่ได้ เพราะผู้ซื้อได้ซื้อไปโดยสุจริต และได้จ่ายค่าที่ดินแล้ว การเพิกถอนนิติกรรมนี้ไม่ใช่เดินไปบอกให้เขาถอน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับที่ดิน จะไปบอกเจ้าพนักงานที่ดินไม่ได้ ต้องนำความไปห้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลเพิกถอน แล้วนำคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นไปให้เจ้าพนักงานจดแจ้ง และกำหนดเวลาในการฟ้องร้อง ก็จำกัดไว้ว่าต้องทำภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้เหตุเพิกถอน หรือไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรม หมายความว่า ถ้าสามีนำสินสมรสไปให้ภรรยาน้อยเมื่อ 8 ปีที่แล้ว เราต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้ แต่ถ้าสามีให้ไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แม้จะเพิ่งรู้ก็สายเกินไป ไม่ต้องกลัวว่าขอแล้วเขาหรือเธอไม่ยินยอม การดื้อแพ่งกแล้งไม่ยอมโดยไม่มีเหตุผล อีกฝ่ายหนึ่งก็อาศัยกฎหมายบังคับโดยการร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตแทนได้ หรือบางทีสามี หรือภรรยาอยู่ในสภาพที่ไม่อาจให้ความยินยอม เช่น อาการโคม่า หรือทิ้งร้างหายไปอีกฝ่ายก็อาศัยการร้องขอต่อศาลเป็นช่องทางในการทำนิติกรรมได้เช่นกัน


คุณถูกใจบทความไหม? LIKE
ถูกใจ Fanpage




คุณรู้สึกอย่างไร? กับบทความนี้ แสดงความคิดเห็น


 

Weddinginlove Showcase , Weddinginlove โชว์ผลงาน งานแต่งงาน

 
 


Kanong Frame บริการพิมพ์ภาพ Canvas
Kanong Frame บริการพิมพ์ภาพ Canvas
คะนองเฟรม เป็นผู้ให้บริการพิมพ์ภาพลงบนผ้าใบ (canvas) เข้าเฟรมไม้ พร้อมจัดส่งถึงบ้าน ด้วยงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ สามารถใช้งาน...
Miracle of love wedding sriracha
Miracle of love wedding sriracha
Miracle of love wedding sriracha ครบทุกเรื่องงานวิวาห์ แพ็คเกจถ่ายพรีเวดดิ้ง แพ็คเกจจัดงานแต่งงาน , ให้เช่าชุดแต่งงาน ชุ...
ร้านอาหารปลาอยู่เย็น
ร้านอาหารปลาอยู่เย็น
“ปลาอยู่เย็น เนรมิตวันสำคัญของคุณ ให้เป็นดั่งเทพนิยาย ไม่ต้องจ่ายแพง!” เนรมิตวันแต่งงานของคุณ ให้น่าจดจำที่สุดในชีวิต! ...
Modern Wedding Studio สตูดิโอ ภูเก็ต
Modern Wedding Studio สตูดิโอ ภูเก็ต
Modern Wedding Studio เวดดิ้ง ภูเก็ต (Studio แต่งงานของคนมีระดับ) โมเดิร์นเวดดิ้งสตูดิโอ แบบครบวงจรแห่งแรกและครองอันดับ ...
SASI Nonthaburi Hotel
SASI Nonthaburi Hotel
โรงแรมศศิ นนทบุรี [สถานที่จัดเลี้ยงแต่งงาน นนทบุรี] บริการห้องจัดเลี้ยงแต่งงาน เป็นสถานที่จัดเลี้ยงแต่งงาน ในบรรยากาศร่...
Charm Wedding Studio and Organizer
Charm Wedding Studio and Organizer
ถ่ายภาพแต่งงาน แบบครบวงจร ชุดเช่าตัด เจ้าบ่าว เจ้าสาว และชุดราตรี ถ่ายภาพนิ่ง วีดีโอวันงาน การ์ดแต่งงาน ของชำร่วย ตกแต่ง...
The Soul Mate Wedding Studio (เดอะโซลเมท เวดดิ้ง สตูดิโอ ชลบุรี)
The Soul Mate Wedding Studio (เดอะโซลเมท เวดดิ้ง สตูดิโอ ชลบุรี)
เดอะ โซลเมท เวดดิ้ง สตูดิโอ ศรีราชา,ชลบุรี บริการถ่ายภาพแต่งงาน (พรีเวดดิ้ง) ทั้งในและนอกสถานที่ ภาพสวยแพคเกจราคาถูกใจใ...
เรือนภิรมย์ ปทุมธานี
เรือนภิรมย์ ปทุมธานี
เรือนภิรมย์ รับจัดงานแต่งงาน พิธีเช้าแบบไทยๆ เรือนภิรมย์ ปทุมธานี สถานที่จัดงานแต่งงานแบบไทยๆ พร้อมบรรยากาศบ้านสวนร่มรื...
 
แต่งงาน แต่งงาน แต่งงาน
Wedding Directory

Follow Us :
CONTACT US
ติดต่อลงโฆษณา Tel: 08 4117 5005, 08 9128 5005, 08 4871 2132
Email: weddinginlove.com@gmail.com , info@weddinginlove.com
LINE ID: wedinloveth
เพิ่มเพื่อน

Copyright@2017 www.weddinginlove.com. All Right Reserved.